สารให้ความหวานสังเคราะห์ หรือน้ำตาลเทียม สารให้ความหวานแทนน้ำตาล คือสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้รสชาติที่หวานเหมือนน้ำตาล ใช้เพิ่มความหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ แต่มีแคลอรี่ที่ต่ำหรือไม่มีแคลอรี่เลยก็ได้เช่นเดียวกับสารให้ความหวานจากธรรชาติ ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำตาลในเลือด หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก ได้แก่
ซูคราโลส
- ระดับความหวานมากกว่าน้ำตาลถึงประมาณ 600 เท่า
- ใช้เป็นส่วนผสมใน ขนม เครื่องดื่ม และอาหารอบเนื่องจากทนความร้อนได้ดี
- ไม่มีแคลอรี่ เพราะร่างกายไม่ย่อย
ซอร์บิทอล
- ระดับความหวานประมาณ 60% ของความหวานจากน้ำตาลทราย ดังนั้นจึงมีแคลอรี่ต่ำกว่า
- ใช้เป็นส่วนผสมใน หมากฝรั่ง ลูกอม และยาสีฟัน
- มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ถ้าบริโภคมากๆ อาจจะเกิดอาการท้องอืดหรือท้องเสียได้
แอสปาร์แตม
- ระดับความหวานมากกว่าน้ำตาลประมาณ 200 เท่า
- ใช้เป็นส่วนผสมใน ลูกอม เครื่องดื่ม และขนมหวานต่างๆ
- มีแคลอรี่ แต่ใช้สารนี้ในปริมาณที่น้อยมาก
ไซคลาเมต
- ระดับความหวานมากกว่าน้ำตาลประมาณ 30–50 เท่า
- ใช้เป็นส่วนผสมในขนมหวาน และเครื่องดื่มต่างๆ
- ห้ามใช้ในหลายประเทศ เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง แต่บางประเทศยังอนุญาตให้ใช้ได้
แซกคาริน/ขัณฑสกร
- ระดับความหวานมากกว่าน้ำตาลประมาณถึง 300–400 เท่า
- ใช้เป็นส่วนผสมในยา ขนม เครื่องดื่ม
- เป็นสารให้ความหวานสังเคราะห์ชนิดแรกที่ถูกค้นพบ แต่มีรสชาติขมเล็กน้อย ซึ่งในอดีตเคยมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่ภายหลังมีการทบทวนและได้ยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายเมื่อบริโภคในปริมาณที่กำหนด
สารให้ความหวานสังเคราะห์ได้มีการควบคุมและมีการกำหนดปริมาณการใช้ที่ปลอดภัย สำหรับการบริโภคจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยด้านอาหารในแต่ละประเทศ เช่น FDA ของสหรัฐอเมริกา และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย ดังนั้นสารให้ความหวานสังเคราะห์จึงเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการลดปริมาณการบริโภคน้ำตาล แต่ก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง หรือปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการก่อนตัดสินใจใช้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ สารให้ความหวาน